คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นหน่วยงานสำคัญภายในองค์กรที่มีหน้าที่ดูแลและส่งเสริมความปลอดภัยในที่ทำงาน คปอ. ถูกจัดตั้งขึ้นโดยการเลือกตั้ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การเลือกตั้งจากนายจ้างและการเลือกตั้งจากลูกจ้าง
- การเลือกตั้งจากนายจ้าง: นายจ้างมีหน้าที่คัดเลือกผู้แทนจากฝ่ายบริหารหรือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในองค์กรเข้าสู่ คปอ. โดยตรง ซึ่งจะเป็นระดับหัวหน้างาน และระดับผู้บริหาร
- การเลือกตั้งจากลูกจ้าง: ในส่วนของผู้แทนจากลูกจ้าง การเลือกตั้งจะต้องดำเนินการผ่านกระบวนการที่เปิดกว้างและโปร่งใส โดยลูกจ้างทุกคนมีสิทธิ์ในการเสนอชื่อผู้สมัคร และลงคะแนนเลือกตัวแทนที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งใน คปอ. การเลือกตั้งนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและมาตรการความปลอดภัยในที่ทำงาน
จำนวนผู้แทนจากนายจ้างและลูกจ้างจะมีสัดส่วน คณะกรรมการความปลอดภัย ตามกฎหมายกำหนด ในการเลือกตั้ง คปอ. จากผู้แทนลูกจ้างต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่โปร่งใสและเป็นธรรม ขั้นตอนการเลือกตั้งดังกล่าวมีดังนี้
ขั้นตอนการเลือกตั้ง คปอ จากผูแทนลูกจ้าง
ก่อนอื่นเลย เราต้องเตรียมคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้ง ซึ่งจะมาจากลูกจ้างระดับปฏิบัติการที่ไม่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็น คปอ ผู้แทนลูกจ้าง ให้เป็นคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน คณะกรรมการเหล่านี้จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลและจัดการกระบวนการเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
1. ประกาศกำหนดวัน เวลา สถานที่รับสมัคร และจำนวนกรรมการผู้แทนลูกจ้าง
นายจ้างจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อลูกจ้างระดับปฏิบัติการจำนวน 2 ชุด และส่งให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้ง พร้อมทั้งปิดประกาศบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้ลูกจ้างตรวจสอบก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 3 วัน
ภายใน 5 วัน นับจากวันที่มีการปิดประกาศรายชื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้ง องค์กรจะต้องประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่รับสมัคร และจำนวนกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่ต้องการ เพื่อให้ลูกจ้างทุกคนทราบและเตรียมตัวเข้าร่วมการเลือกตั้ง
2. การจัดการกรณีจำนวนผู้สมัคร
ในการจัดเลือกตั้งเราจะพบกรณี หลักๆ 3 กรณีซึ่งมีวิธีการจัดการดังนี้
2.1 กรณีไม่มีผู้สมัครหรือมีผู้สมัครน้อยกว่าจำนวนกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่กำหนด
หากในช่วงเวลารับสมัครไม่มีผู้สมัครเข้าร่วม หรือมีผู้สมัครน้อยกว่าจำนวนที่ต้องการ ให้ดำเนินการประกาศรับสมัครใหม่ หรือประกาศรับสมัครเพิ่มตามความเหมาะสม
แต่ถ้าหาก! เปิดรับสมัครใหม่และยังคงมีผู้สมัครน้อยเหมือนเดิม ให้นายจ้างแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยต้องไม่เป็นกรรมการดำเนินการเลือกตั้ง และไม่ได้สมัครรับเลือกตั้ง ให้เป็นกรรมการผู้แทนลูกจ้างให้ครบตามจำนวนที่ต้องการ
2.2 กรณีจำนวนผู้สมัครเท่ากับจำนวนกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่กำหนด
หากจำนวนผู้สมัครเท่ากับจำนวนกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่ต้องการ ให้แจ้งรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดแก่นายจ้าง และให้นายจ้างแต่งตั้งผู้สมัครเหล่านั้นเป็นกรรมการผู้แทนลูกจ้างทันที
2.3 กรณีมีผู้สมัครเกินจำนวนกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่กำหนด
หากมีจำนวนผู้สมัครมากกว่าจำนวนที่ต้องการ ให้ดำเนินการใน 6 ขั้นตอนนี้ภายใน 10 วัน
-
- ประกาศรายชื่อหรือหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร: เพื่อให้ลูกจ้างทุกคนทราบถึงรายชื่อหรือหมายเลขผู้สมัครที่ลงแข่งขัน
- ประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกตั้ง: แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงรายละเอียดของการเลือกตั้ง
- ดำเนินการเลือกตั้งโดยวิธีลงคะแนนเสียงลับ: ให้ลูกจ้างลงคะแนนเสียงลับเพื่อเลือกผู้แทนของตน
- นับคะแนนเสียงโดยเปิดเผย: การนับคะแนนต้องทำอย่างเปิดเผยเพื่อความโปร่งใส
- ประกาศผลการนับคะแนนเสียง: แจ้งผลการเลือกตั้งให้ลูกจ้างทุกคนทราบ
- จัดทำบัญชีรายชื่อเรียงลำดับตามคะแนนเสียง: เพื่อจัดเรียงลำดับผู้สมัครตามคะแนนเสียงที่ได้รับ
3. ประกาศรายชื่อและหน้าที่ของคณะกรรมการ คปอ.
คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งจะต้องแจ้งผลการเลือกตั้งให้นายจ้างทราบภายใน 3 วัน นับจากวันสิ้นสุดการเลือกตั้ง จากนั้นนายจ้างจะต้องประกาศรายชื่อของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) และปิดประกาศไว้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15 วัน
4. ส่งสำเนาประกาศรายชื่อและหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
เอกสารที่ต้องส่งสำเนารายชื่อคณะกรรมการและหน้าที่รับผิดชอบ
สถานประกอบกิจการต้องส่งเอกสารต่อไปนี้ให้พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด :
- หนังสือนำส่งสำเนารายชื่อคณะกรรมการความปลอดภัยฯ
- สำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- สำเนาบัญชีรายชื่อและผลการนับคะแนนการเลือกตั้งคณะกรรมการผู้แทนลูกจ้างระดับปฏิบัติการ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคณะกรรมการความปลอดภัย
- หนังสือมอบอำนาจจากกรรมการผู้จัดการหรือนายจ้างให้เป็นประธานกรรมการฯ โดยหนังสือมอบอำนาจต้องลงนามพร้อมขีดฆ่าและลงวันที่กำกับในอากรแสตมป์ด้วย ส่งเฉพาะกรณีที่กรรมการผู้จัดการหรือนายจ้างไม่เป็นประธานกรรมการฯ
หลักจากส่งสำเนารายชื่อคณะกรรมการและหน้าที่รับผิดชอบ ผู้ที่เป็นตัวแทนทั้งจากนายจ้างและลูกจ้างทุกคน นายจ้างต้องส่งเข้าอบรม คปอ เพื่อให้เรียนรู้การปฏิบัติงานและบทบาทหน้าที่ของ คปอ ในการทำงานจริง หลังการอบรมผู้เข้าอบรมจะได้วุฒิบัติที่จะนำไปใช้ในการขึ้นทะเบียน กับกรมสวัสดิการเพื่อเป็น คปอ อ่างถูกต้องตามกฎหมาย
หากคุณสนใจเราขอแนะนำ บริการอบรม คปอ ทั่วประเทศ ที่มีทั้งการจัดอบรม คปอ อบรมอินเฮ้าส์ (วิทยากรเดินทางสอนถึงสถานที่ของคุณ) และ อบรม คปอ บุคคลทั่วไป (ลูกค้าเดินทางมาอบรมตามศูนย์ฝึก)
ติดต่อ และขอใบเสนอราคาได้ที่อีเมล : [email protected]
บทสรุป
การเลือกตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นกระบวนการที่ถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมาย เพื่อให้ลูกจ้างได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงนโยบายความปลอดภัยขององค์กร ให้สามารถดูแลความปลอดภัยได้อย่างทั่วถึงไม่ตกหล่น โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งการที่จะเป็น คปอ ได้นั้นไม่ได้จบที่การเลือกตั้ง แต่ผู้ที่ถูกเลือกยังต้องเข้าอบรมหลักสูตร คปอ เพื่อให้มีความรู้ที่เพียงพอในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย ในส่วนนี้ลูกจ้างไม่สามารถสมัครเข้าอบรมด้วยตนเอง นายจ้างต้องเป็นผู้ส่งเข้าอบรม